เด็กไทยน้อย แต่แก่เยอะ

     

คำอธิบาย Index และ Dashboard

Dashboard นี้แสดงอัตราการเจริญพันธุ์และเปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุในแต่ละประเทศ
  • แกนตั้ง คือ เปอร์เซ็นผู้สูงอายุ (อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป) เพื่อแสดงจำนวนประชากรผู้สูงอายุ ที่อายุเกิน 65 ปีเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ
  • แกนนอน คือ อัตราการเจริญพันธุ์ เพื่อแสดงจำนวนเด็กเกิดใหม่ต่อผู้หญิงหนึ่งคน โดยหางของกราฟเส้นเริ่มจากปีในอดีต มายังหัวของกราฟเส้น (วงกลมที่ใหญ่ที่สุดของแต่ละกราฟเส้น) เป็นปีปัจจุบัน

เปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุ

ประเทศไทยมีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 ถึงพ.ศ. 2562 จาก 6% ไปเป็น 12% ปัจจุบันประเทศไทยมีเปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุเยอะที่สุดอยู่ในอันดับที่ 4 เมื่อเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ประเทศต่าง ๆ ก็มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่พ.ศ. 2543 ถึงพ.ศ. 2562 เช่นกัน เราสามารถจัดอันดับประเทศที่มีผู้สูงอายุน้อยที่สุดไปมากที่สุดได้ดังนี้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ไทย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ

อัตราการเจริญพันธุ์

อัตราการเจริญพันธุ์ของประเทศไทยค่อย ๆ ลดลงทุกปีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 ถึงพ.ศ. 2562 จากค่าอัตราการเจริญพันธุ์ 1.64 ลดเหลือเพียง 1.44 และประเทศไทยมีอัตราการเจริญพันธุ์เป็นอันดับที่ 4 จาก 5 เมื่อเทียบกับประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้ เมื่อเทียบกับข้อมูลของประเทศอื่นในปีพ.ศ. 2562 ประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์เยอะที่สุด คืออินโดเนเซีย (2.29) มาเลเซีย (1.98) เวียดนาม (1.94) ไทย (1.44) และเกาหลีใต้ (1.35) ตามลำดับ

ภาพรวมของอัตราการเจริญพันธุ์และเปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุ

เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดของกราฟ ถ้าเป้าหมายของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องการที่จะทำให้อัตราการเจริญพันธุ์มีค่ามากขึ้น และเปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุลดลง จากกราฟจะได้ว่าประเทศที่เข้าใกล้เป้าหมายนี้มากที่สุดคือประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย และเวียดนามตามลำดับ
ผู้สูงอายุไทยโตไว 6% ภายใน 20 ปี
  จากกราฟข้างต้นแสดงให้เห็นว่าในอนาคตสัดส่วนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและสัดส่วนเด็กมีแนวโน้มลดน้อยลง เหตุการณ์นี้สามารถเป็นไปได้เนื่องจากหลายสาเหตุ และส่งผลเสียให้กับประเทศเช่นกัน

สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุและการลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์

ที่มา: 2014 Sukhothai Thammathirat open University ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันสถานการณ์แนวโน้มผู้สูงอายุในประเทศไทย นั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าว่าจะลดลงในเร็ว ๆ โดยสาเหตุหลักที่ก่อให้เจริญพันธุ์การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุและการลดลงของอัตราเจริญพันธุ์นั้น มีอยู่หลัก ๆ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
  1. การพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศจากการที่ประเทศมีความเจริญหน้าทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐมีการพัฒนาด้านสวัสดิการและสาธารณสุขที่เหมาะสมต่อประชาชนเพิ่มมากขึ้น เช่นการคุณภาพอนามัยของโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือการพัฒนาให้ระบบคมนาคมขนส่งทั่วถึงมากขึ้น จึงทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีที่เพิ่มมากขึ้นตามมา ขณะที่ด้านประชาชนเองก็มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขอนามัย มีการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ทำให้ประชาชนมีอายุยืนมากขึ้น
  2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์การมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัย มีการพัฒนาทางด้านการแพทย์ที่สามารถช่วยควบคุมโรคระบาดและรักษาโรคที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้ประชากรในประเทศนั้น ๆ มีอายุยืนยาวมากขึ้นซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในกลุ่มประเทศประเทศพัฒนาแล้ว
  3. นโยบายการวางแผนครอบครัวหรือการควบคุมการมีบุตรการมีบุตรมากอาจนำมาสู่ภาระที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับบางครอบครัว หรือเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นนโยบายการวางแผนครอบครัวให้มีบุตรน้อยลงจึงได้เกิดขึ้นมา นอกจากจะช่วยควบคุมอัตราการเจริญพันธุ์แล้วยังทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนไปอีกด้วย เช่น ประเทศจีนที่มีนโยบายควบคุมการมีบุตรที่เข้มงวดจนส่งผลให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงและทำให้ประเทศจีนเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในที่สุด

ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุและการลดลงของอัตราการเจริญพันธุ์

ที่มา: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร การที่ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นและอัตราการเจริญพันธุ์มีค่าน้อยลง จะส่งผลให้ประเทศนั้น ๆ ขาดแรงงานในตลาด ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตในประเทศนั้น ๆ นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนมากมักไม่มีเงินออมเก็บจึงลำบากในบั้นปลายของชีวิต ทำให้รัฐบาลก็ต้องเพิ่มสวัสดิการในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้ประเทศเจริญเติบโตได้ช้าลง
  1. สร้างโอการการจ้างงานและเพิ่มความมั่นคงทางการเงินเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของแรงงานผู้สูงอายุและเพิ่มรายได้ระยะยาว จึงมุ่งเน้นการฝึกเรียนรู้ในลักษณะที่ยืดหยุ่น สามารถศึกษาได้ตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุพร้อมรับมือกับการจ้างงานที่เปลี่ยนไป
  2. ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางสังคมขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะบริการด้านสุขภาพสาธารณสุข และคมนาคม กล่าวคือการอำนวยความสะดวกสบายและความปลอดภัยที่เหมาะสมและเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ
  3. กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมเพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกผู้สูงอายุให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เมื่ออยู่ลำพัง
  4. สร้างการรับรู้ด้านสิทธิประโยชน์ที่ผู้สูงอายุจะได้รับต่อประชาชนทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยเฉพาะในชุมชนและท้องถิ่น
  5. ส่งเสริมศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถและคุณค่าของผู้สูงอายุ ตลอดจนพื้นที่ในการแสดงออก เช่น ดนตรี ศิลปะ กีฬา หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและหนุ่มสาวให้เพิ่มมากขึ้น
  6. ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเปรียบเทียบกรณีศึกษาเรื่องผู้สูงอายุในประเทศต่าง ๆ ให้ทันสมัยต่อเหตุการณ์ เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์แนวโน้มของอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงควบคู่ไปกับงานต่าง ๆ เช่น งานวิชาการหรือนโยบาย เป็นต้น
  7. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความพร้อมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวบุคคล แรงงาน ผู้ประกอบการ ครอบครัว และสถาบัน