ประเทศไทยอยู่ตรงไหน?ตอนคนไทยทำงานหนักแต่ไม่คุ้มเหนื่อย?

เลื่อนลง

คนไทยทำงานหนักแต่ไม่คุ้มเหนื่อย?

  • ไทย

  • เกาหลีใต้

  • มาเลเซีย

  • เวียดนาม

  • อินโดนีเซีย

  • แอฟริกา (AF)

  • อเมริกา (NA+SA)

  • ยุโรป (EU)

  • เอเชีย & โอเชียเนีย (AS+OC)

คนไทยไม่สู้งานหนัก

.....

...

.

จริงหรือ?

ท่าจะจริง? จากข้อมูลชั่วโมงการทำงานรายปีต่อบุคคล พบว่าคนไทยมีชั่วโมงการทำงานต่อคนต่อปีสั้นลง จาก 2,550 ชั่วโมงต่อปีใน ปี 2000 มาอยู่ที่ 2,337.97 ในปี 2005 และลดลงเหลือ 2,185.45 ชั่วโมงต่อปีตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา

แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าเทียบชั่วโมงการทำงานกับทวีปอื่น ๆ แล้ว คนไทยทำงานนานกว่าค่าเฉลี่ยชั่วโมงทำงานของทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา ไม่เว้นกระทั่งเอเชีย โอเชียเนีย โดยคนไทยทำงานนานกว่าคนยุโรปถึง 472 ชั่วโมงในปี 2017 หรือ 59 วันต่อคนต่อปี (ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง)

  • แต่ละประเทศมีมาตรฐานการวัดชั่วโมงการทำงานรายปีแตกต่างกันอย่างไร
  • ประเทศร่ำรวยวัดต่างจากประเทศกำลังพัฒนาหรือไม่อย่างไร

ประเทศเกาหลีที่เคยล้าหลังกว่าเรา แต่พัฒนาแซงเราจนเป็นประเทศร่ำรวย ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขยันเอาการเอางาน แต่จากข้อมูล คนเกาหลีเริ่มทำงานน้อยกว่าคนไทยตั้งแต่ปี 2007 และห่างกัน 122.12 ชั่วโมงในปี 2017

  • อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกาหลีมีชั่วโมงทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เวียดนามตีคู่สูสีกับไทยมาตั้งแต่ปี 2008 ส่วนมาเลเซียเป็นประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด จากเดิมที่ 2,303 ชั่วโมง ลดลงเหลือ 2,238 ชั่วโมง ในปี 2017 ในขณะที่อินโดมีชั่วโมงทำงานต่ำที่สุดมาโดยตลอด

คู่แข่งเราในระแวกนี้ มีแค่มาเลเซียประเทศเดียวที่มีชั่วโมงการทำงานต่อคนต่อปีนานกว่าไทย

  • แต่ละประเทศมีมาตรฐานการวัดชั่วโมงการทำงานรายปีแตกต่างกันอย่างไร
  • ทำไมอินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวที่ชั่วโมงการทำงานสูงขึ้น

คนไทยทำงานหนักหรือไม่ อาจจะยังไม่ชัด แต่ที่แน่ ๆ คนไทยทำงานนานไม่แพ้ใคร

ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ทุกชั่วโมงที่ใช้ไปกับการทำงานนั้น คุ้มค่ากับเวลามากแค่ไหน ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อชั่วโมงการทำงาน เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ช่วยสะท้อนความคุ้มค่าได้

ยิ่งการมาถึงของเทคโนโลยีและ AI ชั่วโมงทำงานของมนุษย์ก็ควรจะลดลง มีเวลาว่างมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีผลิตภาพสูง ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าเดิม

ประเด็นอาจไม่ได้อยู่แค่ขยันหรือขี้เกียจ หรือใครทำงานถึกกว่ากัน แต่ควรพิจารณาว่าเวลาที่ใช้ไปนั้น มีประสิทธิภาพในการยกระดับรายได้มากแค่ไหน หรือพูดง่าย ๆ ว่าคุ้มค่าแค่ไหน

ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อชั่วโมงการทำงาน บอกเราว่า เกาหลีใต้ทำงานคุ้มค่ากว่าเรา 4.5 เท่า มาเลเซียทำงาน คุ้มค่ากว่าเราเกือบ 2 เท่า แต่ไทยยังนำอินโดนีเซียและเวียดนามอยู่

เส้นกราฟที่ชันยิ่งแสดงถึงอัตราความคุ้มค่า ถ้าไทยสามารถเติบโตได้เฉลี่ย 4.02% เท่ากับ 17 ปีที่ผ่านมา เราจะตามเกาหลีทันได้ในปี 2055

  • อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูล“ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ”
  • ถ้าแบ่ง sector ผลิตภัณฑ์มวลรวม ออกเป็น เกษตร อุตสาหกรรม เทคโนโลยี จะเห็นภาพที่แตกต่างหรือไม่

ประเทศเรากำลังมุ่งไปทางไหน? จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อชั่วโมงการทำงาน (แกนตั้ง) เราหยิบเอา ชั่วโมงการทำงานต่อคนต่อปี (ที่เล่าไปตอนต้น) มาเป็นแกนนอน

จุดที่เห็นคือปี ส่วนเส้นกราฟที่เชื่อมจุดจะแสดงทิศทางของประเทศ หากเป้าหมาย คือการที่คนในประเทศทำงานน้อยลง แต่คุ้มค่ามากขึ้น เส้นพุ่งขึ้นไปทางซ้ายบนของแผนภาพ

เส้นยิ่งตรงยิ่งมีทิศทางชัดเจน เส้นยิงยาวยิ่งมีความเปลี่ยนแปลงสูง เส้นยิ่งชันยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสองแกน

ไทยมีทำงานสั้นลงและคุ้มค่ามากขึ้นมาตลอด กราฟจึงเอียงไปทางซ้ายบน แต่ไม่ชันมาก และไม่ห่างจากค่าเฉลี่ยของทวีปเอเซีย โอเชียเนียสักเท่าไร

เราจะสามารถเพิ่มความคุ้มค่าให้ทันมาเลเซียโดยใช้เวลาทำงานน้อยลงได้หรือไม่

เวียดนามที่ทิศทางยังไม่ชัดเจน ใช้เวลาทำงานนานพอ ๆ กับไทย แต่ยังไม่คุ้มค่าเท่าไทย ในขณะเดียวกัน ถ้าอินโดนีเซียเพิ่มชั่วโมงทำงานขึ้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคนต่อชั่วโมงทำงาน อาจไล่เราทันในเวลาไม่นาน

  • ทำไมเส้นกราฟของเวียดนามสับไปสับมา

เมื่อนำเกาหลีกลับเข้ามาในแผนภาพอีกครั้ง ทำให้เราเห็นภาพรวมของภูมิภาคนี้มากขึ้น เกาหลีบินอยู่เหนือไทยหลายช่วงตัว

เส้นตรง มีทิศทางชัดเจน เส้นยาว มีความเปลี่ยนแปลงสูง เส้นชัน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสองแกน

  • ทำไมประเทศเกาหลีถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงกว่าประเทศอื่น

หากมองดูภาพรวมทั้งโลก ทวีปยุโรปและอเมริกา อยู่มุมซ้ายบนของแผนภาพ หรือของโลก ยังคงมีทิศทางชัดเจนแต่เส้นที่สั้นแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่หดตัวลงมาตลอด

หากเราเติบโตเข้าสู่มุมซ้ายบน ด้วยความชันแบบเกาหลี เราจะไปถึงปลายเส้นของอเมริกาภายในระยะประมาณ 11 ปี

  • ทำอย่างไรจะหันทิศประเทศมุ่งสู่มุมซ้ายบน ต้องพัฒนาภาคเทคโนโลยี ต้องเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน จะเพิ่มผลิตผลมวลรวมอย่างไรหากการเติบโตของไทยท้าทายขึ้นทุกปี

คนไทยทำงานหนัก แต่ยังไม่คุ้มเหนื่อย

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็กำลังหันทิศไปสู่ประเทศที่มีชั่วโมงทำงานต่อคนต่อปีลดลง และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้น

แต่ไทยจะขับเคลื่อนไปด้วยอัตราเร่งเท่าไร เมื่อพิจารณาจากโอกาสและข้อจำกัดต่าง ๆ เราควรจะตั้งเป้าไว้ที่จุดไหน และเมื่อไรในอนาคต

สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนาได้จัดทำควิซสอบถามผู้เข้าร่วมตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ผ่านทางเพจ Institute of Public Policy and Development - IPPD ในเดือนกันยายน 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามสำเร็จจำนวน 2,141 คน

โดยผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ประมาณ 20%) คิดว่าประเทศไทยในปี 2018 คนไทยจะทำงานลดลงจาก 2,185 ชั่วโมงต่อปีเหลือเพียง 2,019 ชั่วโมงต่อปี และความคุ้มค่าในการทำงานเพิ่มขึ้นจาก 2.8 เป็น 3.13 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงทำงาน

ผลสำรวจความคิดเห็น

สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนาได้จัดทำควิซสอบถามผู้เข้าร่วมตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ผ่านทางเพจ Institute of Public Policy and Development - IPPD ในเดือนกันยายน 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามสำเร็จจำนวน 2,141 คน

คุณคิดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2018 เป็นอย่างไร? (ในปี 2017 เศรษฐกิจไทยขยายตัวประมาณ 4%) 💵

จากผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 2,141 คน คนจำนวน 883 คน (41.24%) คิดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2018 ขยายตัวประมาณ 3% และ 766 คน หรือ 35.78% คิดว่าเศรษฐกิจขยายตัวเพียง 2% ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วในปี 2018 เศรษฐกิจประเทศไทยขยายตัวประมาณ 4% ซึ่งมีคนมองเศรษฐกิจประเทศไทยแย่กว่าความเป็นจริงถึงกว่า 77%

คุณคิดว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยทำงานวันละกี่ชั่วโมง 🕐💼

หลังจากนั้นกลุ่มผู้สอบถามกลุ่มเดียวกันตอบคำถามเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานของคนไทย โดยส่วนใหญ่จำนวน 978 คน หรือคิดเป็น 45.68% คิดว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยทำงานวันละ 7 - 8 ชม. ซึ่งน้อยกว่าความเป็นจริงที่ 9.2 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีคนตอบถูกเพียง 459 คน (21.44%)

ถ้าเราลองมาดูทั้งคำตอบทั้งสองด้านพร้อม ๆ กันล่ะ?

เมื่อมาดูสัดส่วนของคำตอบเศรษฐกิจแบ่งตามคำตอบของจำนวนช่วงโมงทำงานจะสังเกตเห็นได้ว่าสัดส่วนคนที่ตอบว่าประเทศไทยเศรษฐกิจโตเพียง 2% เพิ่มมากขึ้นตามคำตอบชั่วโมงทำงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีสัดส่วนที่ 26.96% ของคนท่ีตอบว่าคนไทยทำงาน 6 - 7 ชั่วโมงต่อวัน และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนชั่วโมงทำงานที่ 32.94%, 37.01%, และ 39.00% ของคนที่ตอบว่าคนไทยทำงาน 7 - 8, 8 - 9 และ 9 - 10 ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ

ในขณะที่สัดส่วนคนที่ตอบว่าประเทศไทยเศรษฐกิจโตขึ้น 5% ลดน้อยลงตามคำตอบชั่วโมงทำงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีสัดส่วนของคนตอบว่าเศรษฐกิจไทยโตขึ้น 5% คิดเป็นสัดส่วน 14.78% ของคนที่ตอบว่าคนไทยทำงาน 6 - 7 ชั่วโมงต่อวัน และมีสัดส่วนลดลงตามคำตอบชั่วโมงทำงาน จนมาอยู่ที่ 9.59% ของคนที่คิดว่าคนไทยทำงาน 9 - 10 ชั่วโมงต่อวัน

← เลื่อนได้ →

แผนภาพกระจายแบบเชื่อมโยง (connected scatterplot)

Connected Scatterplot Photo

แผนภาพกระจายแบบเชื่อมโยงสามารถแสดงผลตัวแปรเชิงเวลาสองตัวพร้อมกันได้ การจับคู่ตัวแปรไม่เพียงแต่ให้ภาพรวมที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเอื้อให้เกิดบทสนทนาและการตั้งคำถามที่น่าสนใจได้ได้

อนึ่งการศึกษาในปีพ.ศ. 2558 ทดสอบการแสดงข้อมูลในแผนภาพกระจายแบบเชื่อมโยง แล้วพบว่าผู้อ่านใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับแผนภาพ แต่ก็สามารถเข้าใจแผนภูมิได้ในที่สุด แม้ให้คำอธิบายเพียงเล็กน้อย

สามารถดูแผนภาพกระจายแบบเชื่อมโยงของดัชนีอื่นๆ ได้ที่นี่ →