Our Work

Articles

      เมื่อพูดถึงนโยบาย เรามักจะมองเห็นภาพเป็นนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการที่มักถูกกล่าวถึงในที่สาธารณะและเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งแถลงการณ์นโยบายในเอกสารของรัฐบาล ภายในกฎหมาย และข้อบังคับของส่วนราชการ ซึ่งกฎหมายหรือข้อบังคับแท้ที่จริงก็คือการแสดงออกของนโยบายอย่างเป็นทางการที่มักจะเกิดจากแรงกดดันของประชาชน ทั้งนี้การบังคับใช้กฎหมาย/ข้อบังคับไม่ว่าจะเป็น อย่างเคร่งครัด-ผ่อนปรน-ขาดการบังคับใช้ ล้วนเป็นการบ่งชี้ถึงนโยบายต่อประเด็นและหรือหน่วยงานที่ควบคุมโดยกฎหมายหรือข้อบังคับเหล่านั้น และการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างเป็นทางการจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายข้อบังคับที่มักได้รับการกระตุ้นจากแรงกดดันสาธารณะ (Milan Sinko,2016)

     การลงทุนในความมั่นคงด้านน้ำจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการลงทุนนี้ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดีเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาที่กว้างไกลขึ้นในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงด้านน้ำมากขึ้น ในขณะที่ประชากร การขยายตัวของความเป็นเมือง และเศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้คนและทรัพย์สินมีความเสี่ยงต่อน้ำมากขึ้น ซ้ำยังเพิ่มความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกด้วย

       สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาช้านาน นับย้อนหลังไปได้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ที่พบว่าอาชีพหลักของชาวสุโขทัยคือ การทำนา  ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทั้งเพื่อเลี้ยงชีพหรือเพื่อค้าขาย และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามวิถีและวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละยุคแต่ละสมัย เช่นที่ปรากฏว่าในสมัยอยุธยานั้นก็มีการบริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ 4  คือ เวียง-วัง-คลัง-นา ซึ่งการเกิดขึ้นของ “กรมนา” ย่อมหมายความว่าสังคมเกษตรกรรมยิ่งมีความสำคัญเด่นชัดมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ “ข้าว” ก็ยังเป็นพืชที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของสมัยกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมาไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่สมัยสุโขทัย  

       ในยุคศตวรรษที่ 21 ที่พื้นที่เสมือนจริง (virtual space) กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ส่งผลให้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบ Face-to-face นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สะดวก จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้คนหันมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางวิถีชีวิตนี้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลให้นักวิจัยหรือแม้กระทั่งนักนโยบายจำเป็นอย่างที่จะต้องทำความเข้าใจต่อพลวัตด้านวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป เพื่อให้ยังคงสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยได้ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้นในโลกยุค Post-COVID ให้ได้ (Góralska, 2020)

       ภาคอุตสาหกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจระดับประเทศที่นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน การเติบโตและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการคาดหวังในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทโลกใหม่ที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ และการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยผู้บริโภคสมัยใหม่มีความต้องการอุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Devices) เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและความคล่องตัวในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่มาพร้อมกับความต้องการในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสารและทันต่อเหตุการณ์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการประหยัดพลังงาน เช่น เครื่องใช้ในบ้านอัจฉริยะขนาดเล็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เป็นต้น

      ปัจจุบันนานาประเทศทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาโดยยานยนต์สันดาปภายใน อันก่อให้เกิดมลพิษที่ส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงนําไปสู่การกําหนดแนวทางการบรรเทาผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยแนวทางหนึ่งที่มีความสําคัญ คือการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้รถยนต์สันดาปภายใน โดยหลายประเทศให้ความสนใจและตื่นตัวต่อภาวะโลกร้อน ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

         ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ครั้งที่ 29 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ในหัวข้อ Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ที่ประชุมกล่าวถึงเรื่องโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ที่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ APEC เสียหายทั้งหมด การเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ของไทยในครั้งนี้เป็นการจัดประชุมในสถานการณ์โลกที่ไม่ปกติและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเป็นที่มาของการกำหนดวาระของการประชุมที่มุ่งเน้นให้ประเทศสมาชิกและประเทศทั่วโลกฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19