Collaboration

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)

สถาบันฯ ได้จัดทำความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อขยายผลการศึกษา และงานวิจัยของสถาบันฯ ให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนัก รวมถึงสร้างองค์ความรู้ ให้คำแนะนำเชิงนโยบาย และสร้างแนวทางการปฏิบัติ ให้เป็นที่ประจักษ์
แก่สาธารณชน

สำนักงานสถิติเเห่งชาติ (สสช.)
สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนาได้มีความร่วมมือกับสำนักงานสถิติเเห่งชาติ (สสช.) ตั้งเเต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันทำและพัฒนาให้เกิดระบบรองรับปฏิบัติการแบบกรอบตัวอย่างดิจิตอล (digital frame) เพื่อให้ได้ช่องทางการติดต่อประชาชนไทยโดยตรงทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการเชิงสถิติและเชิงนโยบายได้ อีกทั้งยังได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านระบบฐานข้อมูลและวิธีการดำเนินงานเก็บข้อมูล บริหารจัดการ และเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างกัน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล เสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ และตลอดจนข้อมูลทางวิชาการต่าง ๆ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สถาบันนโยบายสาธารณะได้มีความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดยได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน

ธนาคารโลก

การร่วมมือกับธนาคารโลกมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสนับสนุนและศึกษาประเด็นการพัฒนากับความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและผกผันทั้งจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 และปรากฏการณ์โลกร้อน เป็นต้น การร่วมมือกับธนาคารโลกมีบทบาทเป็นส่วนส่งเสริมการสื่อสารประเด็นสำคัญของโครงการวิจัย เป้าหมายใหม่: ลดเสี่ยงเพิ่มสุข (Beyond Growth)

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

การร่วมมือกับ UNEP มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสนับสนุนและศึกษาประเด็นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยท่ามกลางปรากฏการณ์โลกร้อน สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ การร่วมมือกับ UNEP อยู่ภายใต้ร่มโครงการวิจัย เป้าหมายใหม่: ลดเสี่ยงเพิ่มสุข (Beyond Growth)

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

เป้าหมายสำคัญในการร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology MIT) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่การต่อยอดโครงการวิจัยเป้าหมายใหม่: ลดเสี่ยงเพิ่มสุข (Beyond Growth) ให้มีความสำคัญและเป็นที่ประจักษ์ในวงการวิชาการระดับนานาชาติ (International) โดยจับประเด็นปัญหาเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงการลดผลกระทบความเสี่ยงด้านภัยพิบัติจากทั้งธรรมชาติและมนุษย์ เพื่อเพิ่มสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน รวมถึงสร้างแนวทางการเพิ่มความสามารถ/ศักยภาพให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถรับมือและปรับตัวกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกได้ การร่วมมือกันมีผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

Urban Metabolism Group
โครงการร่วมมือกันในระยะยาวเพื่อศึกษาประเด็น Green Urban Economy (เศรษฐกิจสีเขียว) กำหนดระยะเวลา 3 ปี กับ Professor John Fernandez จาก Urban Metabolism Group ดังนี้ ในปีที่ 1 ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่อง Material Flow Analysis (MFA) เพื่อเข้าใจสถานการณ์เรื่องการจัดการและบริโภคทรัพยากรในจังหวัดหัวเมืองของประเทศไทย ในปีที่ 2 การสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นของจังหวัดตามพื้นที่การศึกษาเพื่อรวบรวมความเห็น สร้างความเชื่อมโยงและระบุระบบนิเวศผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (key stakeholders) เป็นการสร้างรากฐานสู่การนำนโยบายไปปฏิบัติได้จริง และ ในปีที่ 3 แบ่งปันและสนับสนุนเรื่องการวิเคราะห์เพื่อสร้างแนวทาง/นโยบายการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรในเมือง โดยมีเป้าหมายสร้างเศรษฐกิจสีเขียวที่ยั่งยืน
Urban Risk Lab
โครงการร่วมมือกันในระยะยาวเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อรับมือ ปรับตัวและฟื้นตัวต่อความเสี่ยง (Building a Resilient Society) กำหนดระยะเวลา 3 ปีกับ Professor Miho Mazereeuw จาก Urban Risk Lab ดังนี้ ในปีที่ 1 ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องภัยพิบัติ ได้แก่ น้ำท่วม น้ำแล้ง ไฟป่า ฝุ่นควันและมลภาวะ เพื่อจัดทำแผนที่ความเสี่ยง (risk map) ทำความเข้าใจสถานการณ์ความเสี่ยงเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมในจังหวัดที่ประสบภัยซ้ำซากของประเทศไทย รวมถึง วิเคราะห์หารากของปัญหาและประเด็นสำคัญ และเปิดประเด็นความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงให้เป็นที่ตระหนักในสาธารณชน ในปีที่ 2 การสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นของจังหวัดตามพื้นที่การศึกษาเพื่อรวบรวมความเห็น สร้างความเชื่อมโยงและระบุระบบนิเวศผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (key stakeholders) เป็นการสร้างรากฐานสู่การนำนโยบายไปปฏิบัติได้จริง และ ในปีที่ 3 แบ่งปันและสนับสนุนเรื่องการวิเคราะห์สร้างแนวทาง/นโยบายการพัฒนาเมืองและพัฒนาท้องถิ่นต่อความเสี่ยงภัยพิบัติที่ได้ศึกษาไป