ประเทศไทยอยู่ตรงไหน ในการจัดการถุงพลาสติก?

รู้หรือไม่ว่า ถุงพลาสติกอยู่คู่กับมนุษยชาติตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 คิดค้นโดยวิศวกรชาวสวีเดน เพื่อใช้ทดแทนการผลิตถุงกระดาษจากการตัดไม้ทำลายป่า แต่กลับกลายเป็นว่า นับตั้งแต่ ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขยะพลาสติกจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นภาวะเร่งด่วนให้กับหลาย ๆ ประเทศ

สำหรับมาตรการในประเทศไทย สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มีมติเห็นชอบกลไกการขับเคลื่อนการงดแจกถุงพลาสติก หูหิ้วตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ว่าด้วยการขอความร่วมมืองดแจกถุงพลาสติกหูหิ้วในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป เพื่อลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 (Thailand’s Roadmap on Plastic Waste Management 2018 – 2030)

เพื่อศึกษาประเด็นเหล่านี้ สถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนาชวนผู้ที่สนใจมาเปิดมุมมองกับเรื่องราวข้อมูล "ประเทศไทยอยู่ตรงไหน ในการจัดการถุงพลาสติก?" ที่จะพาผู้อ่านมาทำความเข้าใจที่มา การเติบโตของจำนวนขยะพลาสติก และมาตรการหรือเครื่องมือเชิงนโยบายที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกดำเนินการกับถุงพลาสติก

“เข้าสู่ data story”