จริงหรือไม่ที่ประเทศไทยนั้นเหลื่อมล้ำ

สงสัยหรือไม่ว่า ‘ปัญหาความเหลื่อมล้ำ’ ของไทยเป็นอย่างไร? 

คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่ของโลก? 

และผู้แทนในรัฐสภามีสัดส่วนของเพศชายหญิงเป็นอย่างไร? 

ปัญหาความเหลื่อมล้ำคือ หนึ่งในเป้าหมายที่องค์สหประชาชาติต้องการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้มีความเสมอภาคมากยิ่งขึ้นให้ได้ภายในปี 2030 

IPPD จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความเสมอภาคให้เกิดในสังคม ด้วยการนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาให้เกิดเป็นนโยบายเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคมไทยต่อไปในอนาคต

คำถามจากควิซรอบที่ 1: คุณคิดว่ารายได้ของคนไทยมีค่าความเหลื่อมล้ำอยู่ในช่วงที่เท่าไหร่ ระหว่างคะแนน 1-100? (1=ไม่เหลื่อมล้ำเลย ทุกคนมีรายได้เท่ากันหมด 100=มีคนๆเดียวถือครองรายได้ทั้งหมดของคนทั้งประเทศ) 
คำตอบที่ถูกต้อง: 42.1 (หรือ ข. 26-50) (คนตอบถูก 14.40%)
คำตอบที่คนตอบมากที่สุด: ง.76-100 (คนตอบมากที่สุด 42.49%)

อีกหนึ่งปัจจัยที่มักถูกนิยมนำมาคำนวณเพื่อหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ได้แก่ รายได้ สำหรับการวัดความเหลื่อมล้ำด้วยการประยุกต์ใช้ GINI Coefficient ดัชนีวัดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ซึ่งให้ค่า 0 ทุกคนหมายถึงสังคมมีรายได้เท่าเทียมกัน และค่า 100 มีคนเพียงคนเดียวที่ได้รับรายได้ทั้งหมด 

อย่างไรก็ตาม จากการวัดล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2018 ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทยอยู่ที่ 42.1 ซึ่งถือว่ามีความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า การกระจายรายได้ของประเทศไทยโดยรวมถือว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น 

นอกจากนี้ สำหรับนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ รัฐบาลได้มีการดำเนินการและออกมาตรการหลากหลาย เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีความสมดุลมากขึ้น เช่น การปรับโครงสร้างราคา สินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ และการจัดสรรที่ดินทำมากิน โดยมุ่งเน้นไปที่การยกระดับรายได้ของกลุ่มประชากรรายได้น้อยที่สุด

อีกด้านหนึ่งนั้น ทางภาครัฐยังได้ปรับปรุงระบบได้หันมาปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม เช่น เพิ่มการจัดเก็บภาษีจากฐานทรัพย์สิน โดยพิจารณาจากการจัดเก็บภาษีกำไรส่วนเกินทุน เป็นต้น 

ที่มา: 
https://bit.ly/2MmikTh 
https://bit.ly/32NwUJe

คำถามจากควิซรอบที่ 1: คุณคิดว่า คุณภาพการศึกษาของเด็กไทย (มัธยมปลาย – มหาวิทยาลัย) อยู่ที่ช่วงอันดับเท่าไหร่ จาก 137 ประเทศทั่วโลก (อันดับ 1 = ดีที่สุด อันดับ 137 = แย่ที่สุด)
คำตอบที่ถูกต้อง: 65 (ข. 36 – 70) (คนตอบถูก 17.57%)
คำตอบที่คนตอบมากที่สุด: ค. 71 – 105 (คนตอบมากที่สุด 54.15%)

จากคำตอบที่ถูกต้อง คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยตั้งแต่ช่วงมัธยมปลายจนถึงมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ในอันดับที่ 65 จากทั้งหมด 137 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม อันดับดังกล่าวถือว่าเป็นที่น่ากังวลเนื่องจากประเทศไทยไม่ติด 50 อันดับแรกในเชิงมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่ World Economic Forum ระบุถึงอัตราการแข่งขันด้านต่างๆของแต่ละประเทศไว้ใน 50 อันดับแรกได้แสดงถึงคุณภาพการศึกษาที่ดี และส่งผลถึงคุณภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ดีขึ้นของประเทศนั้นๆด้วย 

โดยหากเทียบกับประเทศที่ติดอันดับสามประเทศแรกในเรื่องคุณภาพการศึกษา ได้แก่ สิงคโปร์ ฟินแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ทั้งสามประเทศที่กล่าวมานั้น ล้วนแต่เป็นประเทศที่สามารถผลักดันให้การศึกษาเป็นปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาประเทศ กล่าวคือ มีคุณภาพในการจัดการระบบการศึกษาที่ดีตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเฉพาะด้านให้กับผู้เรียน ตัวบุคลากรในการสอนเองก็มีความเพียบพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้อย่างทั่วถึง เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อประกอบการเรียน 

ปัจจัยด้านคุณภาพการศึกษาที่กล่าวมานั้นแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังไม่มีการผลักดันในด้านการศึกษาได้มากพอ อย่างไรก็ตาม นโยบายภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยเรื่องการศึกษาในปัจจุบันตระหนักและพร้อมที่จะผลักดันให้คุณภาพการศึกษาไทยให้ดีขึ้น ซึ่งนโยบายเหล่านั้นคล้ายคลึงกับประเทศต้นๆเรื่องคุณภาพการศึกษา แต่ปัญหาปัจจุบันคือการที่นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษายังคงไม่ส่งผลเท่าเทียมกันทั่วประเทศ โรงเรียนยังคงให้คุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกันในเชิงมาตรฐาน ซึ่งอาจมีปัจจัยที่บุคลากร สถานที่ และเทคโนโลยีที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ การตั้งมาตรฐานการศึกษาใหม่ให้ดียิ่งขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ประเทศไทยควรให้ความสนใจและมุ่งพัฒนาต่อไป

ที่มา: 

https://bit.ly/2jZK8Rg

คำถามควิซรอบที่ 2: คุณคิดว่าถ้า ส.ส. ในรัฐบาลไทยมี 100 คน จะมี  ส.ส.ชาย ประมาณกี่คน? 

คำตอบที่ถูกต้อง: ง. 84.2% (81-90) (คนตอบถูก 39.11%)
คำตอบที่คนตอบมากที่สุด: ง. 84.2% (81-90) (คนตอบมากที่สุด 39.11%)

จะเห็นได้ว่า จากคำตอบที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตอบเข้ามามากที่สุดนั้น ตรงกับข้อเท็จจริงของรายงานสหภาพรัฐสภา (Inter Parliament Union) ที่ชี้ว่า ผลการเลือกตั้งทั่วไปของไทยในปี 2019 ส.ส.ทั้งหมด 500 คน มีสัดส่วนส.ส.ชายทั้งสิ้น 419 คน (83.8%) และมีส.ส.หญิงเพียง 81 คน (16.2%) ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นสัดส่วนส.ส.หญิงสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า สัดส่วนส.ส.หญิงในรัฐสภาไทยนั้น ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนส.ส.หญิงทั่วโลก อิงจากสหภาพรัฐสภาที่ระบุค่าเฉลี่ยไว้ที่ 24.3%

สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มีแผนในการสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางเพศ เช่น พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ที่จะช่วยคุ้มครองการเลือกปฏิบัติทางเพศ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ ที่ต้องการสร้างความเท่าเทียมทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อเพศ ภายในปี 2030 ด้วย

ที่มา: 

https://bit.ly/33AoTYj